มหาธาตุ
1.ไนโตรเจน (N)
- เคลื่อนที่ได้ทั้งในดินและในพืช
- เป็นธาตุอาหารที่ขับเคลื่อนและเป็นตัวสร้างของพืช
- เป็นธาตุสำคัญมากต่อผลผลิตพืชทุกชนิด
- เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีนและคลอโรฟิลล์
- เป็นธาตุอาหารที่มีผลโดยตรงต่อการแตกใบอ่อน ออกดอก พัฒนาผล และการเจริญเติบโตของรากพืช
อาการขาดไนโตรเจน
- พืชเจริญเติบโตช้า
- ใบส่วนใหญ่จะมีสีซีดกว่าปกติ
- ใบแก่มีสีเหลือง ร่วงก่อนกำหนด
- การแตกใบอ่อนไม่ดี ติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก
- ผลผลิตโดยรวมลดลง สีผิวผลไม่สวย เช่นลิ้นจี่มีสีแดงคล้ำ

อาการที่มีไนโตรเจนมากเกินไป
- การเจริญเติบโตทางใบมาก
- ไม่ต้านทานต่อโรคแมลง
- สีผลไม่สวย (ยังเขียวอยู่ทั้งๆที่สุกแล้ว)
- เนื้อผลไม้นิ่ม จะไม่กรอบ (ผลไม้ทุกอย่างต้องการความกรอบ)
- ไม่ทนต่อการเก็บรักษา
- เกิดอาการผิดปกติภายในผล
2.ฟอสฟอรัส (P)
- ไม่เคลื่อนที่ในดิน (หายไปกับหน้าดินเท่านั้น) แต่เคลื่อนที่ได้ในพืช
- จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโตของเซลล์
- การสังเคราะห์แสง การสร้างแป้งและน้ำตาล
- การใช้พลังงานของพืช (ATP)
- การเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรทภายในพืช
อาการขาดฟอสฟอรัส
- พืชจะแคระแกร็นและมีทางใบสั้น
- ไม่ออกดอก (ใส่ฟอสฟอรัสมากก็ใช่ว่าจะออกดอก เพราะฟอสฟอรัสจะไปกดธาตุ แมงกานีส(Mn) สังกะสี(Zn) เหล็ก(Fe))
- ใบแก่ของพืชตระกูลหญ้าจะมีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมม่วง
- ไม่ค่อยพบอาการขาดธาตุนี้ในไม้ผล เพราะชาวสวนหรือเกษตรกรใช้ปุ๋ยที่มี ฟอสฟอรัสสูงกันมานานแล้ว(ดินก่อนทำสวนทำไร่จะมีฟอสฟอรัสต่ำ)
- ถ้าดินมีฟอสฟอรัสสูงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสอีก ยกเว้นการย้ายต้นกล้าลงดิน เพราะว่ารากของต้นกล้ายังไม่สามารถหาอาหารได้ดีเท่าที่ควร ต้องนำฟอสฟอรัสไปใส่ใกล้ๆราก แล้วรากจะเจริญเติบโตได้ดีและจะสามารถขยายไปหาอาหารเองได้
- การดูดฟอสฟอรัสขุ้นอยู่กับระบบราก ถ้ารากเจริญเติบโตดีมักไม่ขาดฟอสฟอรัส
อาการที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไป
- จะทำให้ขาด สังกะสี (Zn) ยิ่งส่วนใหญ่แล้วสังกะสีในดินจะมีน้อยมาก
- จะทำให้ขาดเหล็ก(Fe)
- จะทำให้ขาดแมงกานีส(Mn)
3.โพแทสเซียม (K)
- เคลื่อนที่ได้ในพืช
- เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นมากสำหรับไม้ผล พืชต้องการมากในช่วงพัฒนาของผล
- จำเป็นต่อการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรท
- จำเป็นต่อการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปที่ผล
- ควบคุมการเปิดปิดปากใบ
- มีความสำคัญต่อขนาดและพัฒนาการของผล
- มีผลโดยตรงต่อคุณภาพผล สี ขนาด และความหวาน
อาการขาดโพแทสเซียม
- จะแสดงอาการที่ใบแก่ก่อนและลามไปยังใบอ่อน
- ใบมีสีเหลือง โดยเริ่มจากขอบใบและปลายใบ ถ้าอาการรุนแรงมากจะเป็นสีน้ำตาล
- แสดงอาการขาดที่ใบเมื่ออาการรุนแรงแล้ว
- พบบ่อยมากในไม้ผล แต่สังเกตยาก
- อาจจะมีอาการแตกต่างกันระหว่างแต่ละพืช
- ผลมีขนาดเล็ก สีผิลไม่สวย และรสชาติไม่ดีหรือจืดชืด เพราะไม่มีแป้งและน้ำตาลเข้าไปที่ผล
- ผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตลดลง
- ถ้าไม่มีโพแทสเซียมปากใบจะเปิดปิดไม่แน่น ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ เป็นสาเหตุทำให้ใบพืชเหี่ยวแห้งได้ง่ายและไม่ทนแล้ง
4.แคลเซียม (Ca)
- ไม่เคลื่อนที่ในพืช จะเคลื่อนที่ไปที่ผลได้น้อยมาก
- เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อคุณภาพและความทนทานในการเก็บรักษาผลไม้
- เริ่มให้ความสนใจในการวิจัยและค้นคว้าเมื่อปี 1960
- เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์
- มีความจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
- ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน เพราะแคลเซียมจะทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง
อาการขาดแคลเซียม
- สาเหตุการขาดแคลเซียม เกิดได้หลากหลายทาง ทำให้เกิดความสับสนในการสังเกต
- ถ้าขาดจะแสดงอาการที่ยอดอ่อนหรือใบอ่อน ปลายใบไหม้ ปากใบไม่คลี่
- ในพืชไร่มีปัญหาขาดแคลเซียมน้อย
- อาการขาดแคลเซียมมักพบเจอในดินที่เป็นกรด หรือดินที่เป็นทรายมากๆ เพราะจะไม่สามารถเก็บธาตุอาหารไว้อยู่กับดินได้
- เวลาอากาศร้อน หรือลมแรง จะทำให้เกิดการคายน้ำไม่ทัน
- ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมมากเกินไป เพราะว่าโพแทสเซียมจะไปกดแคลเซียมไว้ ต้องใส่ให้สมดุลกัน
- ใบอ่อนจะบิดเบี้ยวและม้วนงอ (ไม้ผลจะดูได้ยาก)
- ใบไม่สามารถคลี่ได้เต็มที่ จะแห้งตามขอบใบ แต่อาจจะไม่แสดงอาการเหมือนกันทุกพืช แต่พืชผักจะแห้งตามขอบใบ
- คุณภาพของผลไม่ดี
- อาการก้นเน่าในมะเขือเทศ แตงโม น้อยหน่า พริก เป็นต้น
- อาการผลแตกในเชอร์รี่ พรุน ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น
- อาการก้นเน่าในทุเรียน
- อาการหัวยุบ หัวดำ ในสละ
- อาการเนื้อแก้วยางไหลในมังคุด

การวิเคราะห์ปัญหาการขาดแคลเซียม
- ดูอาการที่ใบ : ยาก
- วิเคราะห์ที่ดิน : ไม่สามารถบอกได้ว่าพืชจะขาดหรือไม่ บอกได้แค่ว่าดินมีแคลเซียมสูงหรือต่ำ ถ้ามีต่ำโอกาสขาดสูง แต่ถ้ามีสูงก็ไม่ได้แปลว่าจะพอต่อความต้องการของพืช
- วิเคราะห์ที่พืช : บอกได้ว่าใบมีแคลเซียมพอหรือไม่ แต่บอกไม่ได้ว่า ผลจะได้รับแคลเซียมพอหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องใช้ 3 วิธีในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา
แนวทางการแก้ปัญหา
- ให้แคลเซียมแก่พืชอย่างเพียงพอ อย่างน้อยดินต้องมีแคลเซียม เพราะพืชจะดูดแคลเซียมได้ก็เมื่อมีการคายน้ำ เวลาพืชคายน้ำก็จะดูดน้ำไปและแคลเซียมก็จะขึ้นไปด้วยกับน้ำ เนื่องจากแคลเซียมไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ในพืช แคลเซียมจะเคลื่อนที่ได้ทางเดียว ไปในทิศทางขึ้นข้างบน พืชคายน้ำไปจุดไหน จุดนั้นก็จะมีแคลเซียมอยู่ ส่วนผลก็จะสามารถคายน้ำได้ในเฉพาะผลอ่อนๆหรือเขียวๆอยู่ ถ้าผลแก่แล้ว ผลจะไม่มีการสังเคราะห์แสง จึงทำให้ผลแก่ไม่เกิดการคายน้ำ
- อย่าให้เกิดการขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงแรกของการพัฒนาผล เพื่อที่จะให้พืชเกิดการคายน้ำ แล้วดูดแคลเซียมเคลื่อนที่ไปยังผลได้
วิธีปฎิบัติ
- ใส่ปูนเพื่อปรับ ph ในดินกรด (แนะนำให้นำดินไปตรวจวิเคราะห์ก่อน)
- แนะนำให้ใส่ยิปซัม (CaSo4) เพื่อให้ได้แคลเซียมโดยตรง ยิปซัมจะสามารถเคลื่อนที่ลงไปที่ดินด้านล่างได้ดีกว่าปูน เพราะว่าจะได้ กำมะถัน(S) ด้วยช่วยให้ดินฟู
- ฉีดพ่นแคลเซียมให้กับผลโดยตรง
- การฉีดพ่นจะใช้แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) จะต้องเป็นเกรดอาหาร (Food Grade) เกรดปุ๋ยจะใช้ไม่ได้เพราะจทำให้ผลเป็นแผล
- ใช้ความเข้มข้นสูง (2-4% ติดต่อกัน 5-6 ครั้ง) ตั้งแต่ผลยังมีขนาดเล็ก
- การใส่แคลเซียมดีที่สุดคือการใส่ที่ดิน
- ถ้าฉีดพ่นเข้มสูง อาจจะทำให้ใบไหม้ที่ปลายใบเล็กน้อย
- การฉีกพ่น แคลเซียม-โบรอน ที่ขายทั่วไป จะไม่สามารถให้แคลเซียมพอต่อความต้องการของผล แต่โบรอนได้เพียงพอ
5.แมกนีเซียม (Mg)
- เป็นธาตุที่เคลื่อนที่ได้ในพืช
- เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์
- สำคัญในการสังเคราะห์แสง
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช
อาการขาดแมกนีเซียม
- ถ้าขาดก็จะแสดงที่ใบแก่ แต่ว่าในมังคุดจะไม่ง่าย
- มีพื้นที่สีเหลืองระหว่างเส้นใบที่ใบแก่
- อาการขาดพบทั่วไปได้ในไม้ผลแทบทุกชนิด เช่นทุเรียน มังคุด สละ เป็นต้น
- เป็นธาตุอาหารที่พบอาการขาดได้มากที่สุดในภาคตะวันออก

ข้อสำคัญ
การจัดการโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะการใส่ธาตุใดธาตุหนึ่งมากเกินไป อาจจะทำให้ขาดธาตุอื่นได้ เช่น ถ้าให้โพแทสเซียมมาก อาจจะทำให้ขาด แคลเซียม และแมกนีเซียม ได้ บางครั้งก็อาจจะไปกดแคลเซียมมากกว่าแมกนีเซียม ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า แคลเซียมและแมกนีเซียมมีมากน้อยแค่ไหนด้วย 3 ธาตุนี้จะมีผลเกี่ยวเนื่องกัน เพราะฉะนั้น 3 ธาตุนี้ต้องใส่กันอย่างสมดุลกัน
6.กำมะถัน (S)
- จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน
- เป็นองค์ประกอบสำคัญของโคเอนไซม์ เอ (Coenzyme A) และวิตามิน B1
- เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์
- ช่วยให้ดินฟูได้ ยิ่งในดินเค็มยิ่งต้องการกำมะถัน
อาการขาดกำมะถัน
- สังเกตอาการที่ใบอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง
- ใบจะมีขนาดเล็ก
- ลำต้นแคระแกร็น
อ้างอิง
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมังคุด ในเขตภาคใต้ โดย รศ.ดร. สุมิตรา ภู่วโรดมนักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
แสดงความคิดเห็น